หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
Open menu
ประวัติความเป็นมา
วิสัยทัศน์ & พันธกิจ
อำนาจหน้าที่
โครงสร้างหน่วยงาน
หน่วยงานในสังกัด
ผู้บังคับบัญชา
ข้อมูลผู้บริหาร
ภารกิจ ผู้บังคับบัญชา
ผู้กำกับการ
รองผู้กำกับการ
ทำเนียบหัวหน้าสถานี
พื้นที่รับผิดชอบ
ข่าวสาร
Open menu
ประชาสัมพันธ์
การมีส่วนร่วมของหัวหน้าสถานี
การจัดซื้อ จัดจ้าง
กต.ตร
Open menu
อำนาจหน้าที่
คณะกรรมการฯ กต.ตร
การมีส่วนร่วมกับ กต.ตร.
บริการประชาชน
Open menu
ศูนย์กลางแอปพลิเคชั่น
สื่อสังคม (Social Network)
คู่มือต่าง ๆ
คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่
คู่มือการให้บริการประชาชน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
ถามตอบ (Q&A)
ติดต่อ สน.
POLICE ITA
Open menu
POLICE ITA 2566
Menu
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
Open menu
ประวัติความเป็นมา
วิสัยทัศน์ & พันธกิจ
อำนาจหน้าที่
โครงสร้างหน่วยงาน
หน่วยงานในสังกัด
ผู้บังคับบัญชา
ข้อมูลผู้บริหาร
ภารกิจ ผู้บังคับบัญชา
ผู้กำกับการ
รองผู้กำกับการ
ทำเนียบหัวหน้าสถานี
พื้นที่รับผิดชอบ
ข่าวสาร
Open menu
ประชาสัมพันธ์
การมีส่วนร่วมของหัวหน้าสถานี
การจัดซื้อ จัดจ้าง
กต.ตร
Open menu
อำนาจหน้าที่
คณะกรรมการฯ กต.ตร
การมีส่วนร่วมกับ กต.ตร.
บริการประชาชน
Open menu
ศูนย์กลางแอปพลิเคชั่น
สื่อสังคม (Social Network)
คู่มือต่าง ๆ
คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่
คู่มือการให้บริการประชาชน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
ถามตอบ (Q&A)
ติดต่อ สน.
POLICE ITA
Open menu
POLICE ITA 2566
แผนผังโครงสร้างสถานีตำรวจนครบาลเตาปูน
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของสายงานต่างๆ ในระดับหน่วยงาน
สถานีตำรวจ มีหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดในคดีอาญา ภายในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครอง รวมตลอดถึงการรับผิดชอบในด้านการงาน และการปกครองบังคับบัญชาถัดรองลงไปจากกองบังคับการตำรวจ นครบาล (๑-๙) หรือตำรวจภูธรจังหวัด เพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความมั่นคงภายใน บริการทางสังคม ชุมชน และมวลชนสัมพันธ์ การพัฒนางานบริหารและงานจเรตำรวจ การป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และการรักษาความสงบเรียบร้อย รวมตลอดจนถึงงานกิจการพิเศษ และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานีตำรวจ งานในสถานีตำรวจ แบ่งออกเป็น ๕ ลักษณะ ดังนี้ คือ
๑. งานอำนวยการ
มีหน้าที่เกี่ยวกับการอำนวยการ การวางแผน การตรวจสอบติดตามและประเมินผลงานที่เกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานของสถานีตำรวจ งานการบริหารบุคลากร งานจเรตำรวจ งานกิจการพิเศษ งานความมั่นคง การศึกษาการฝึกอบรม งานวิชาการ สวัสดิการ การพัฒนา การบริหารจัดการ งบประมาณ การเงิน การพัสดุ การพลาธิการและ สรรพวุธ การส่งกำลังบำรุง รวมทั้งลักษณะงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานดังกล่าว เพื่อส่งเสริมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจ
๒. งานป้องกันปราบปราม
ต่อมากระทรวงมหาดไทยเห็นว่า สถานีตำรวจนครบาลหลายสถานีตั้งมาเป็นเวลานานแล้ว และมีเขตอำนาจการปกครองกว้างขวาง ซึ่งเดิมพื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตอำนาจรับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลเหล่านี้เป็นพื้นที่ว่างเปล่า แต่ปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ประชาชนในเขตรับผิดชอบได้ทวีขึ้นอย่างรวดเร็วและหนาแน่นมาก ตลอดจนอาคารบ้านเรือนและสถานที่สำคัญได้เพิ่มมากขึ้น แต่เขตการปกครองของสถานีตำรวจนครบาลดังกล่าวยังมิได้เปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นการเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลเพิ่มขึ้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒ แห่งพระราชกฤษฏีกาแบ่งพื้นที่ส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.๒๕๐๘ ให้สถานีตำรวจนครบาลเตาปูนแบ่งพื้นที่รับผิดชอบออกไปเป็น ๒ สถานี คือ สถานีตำรวจ นครบาลเตาปูน และสถานีตำรวจนครบาลประชาชื่น โดยให้ขึ้นกับกองกำกับการตำรวจนครบาล ๔ มีพื้นที่รับผิดชอบเพียง ๘,๑๔๔ ตารางกิโลเมตร
๓. งานจราจร
มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบและประเมินผลงานด้านการควบคุมจราจร จัดการและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับจราจร งานจราจรตามโครงการพระราชดำริ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาด้านการจราจร ในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ ตลอดจนพื้นที่ที่มีการจราจรต่อเนื่องกัน
๔. งานสืบสวน
มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผล ตลอดจนปฏิบัติงานในด้านการสืบสวน ปราบปราม อาชญากรรม การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาทุกฉบับตลอดจนองค์กรหรือเครือข่ายที่อยู่เบื้องหลัง รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อมิให้เกิดอาชญากรรมขึ้นในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ
๕. งานสอบสวน
มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผลด้านการสอบสวนคดีอาญา การมีความเห็น การให้ความเห็นชอบ หรือการเห็นแย้งในคดีอาญา การอุทธรณ์ ฎีกา หรือการขอให้พิจารณาคดีใหม่ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ